ชนิด แหล่งกำเนิด และผลกระทบ ของ ข้อมูลผิดเกี่ยวกับโควิด-19

ในวันที่ 30 มกราคม 2020 สำนักข่าวอังกฤษบีบีซีรายงานทฤษฎีสมคบคิดและคำแนะนำทางสุขภาพซึ่งไม่ดีเกี่ยวกับโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆตัวอย่างเด่นในเวลานั้นรวมคำแนะนำทางสุขภาพผิด ๆ ที่แชร์ไปตามสื่อสังคมและระบบส่งข้อความ บวกกับทฤษฎีสมคบคิดต่าง ๆ เช่นโรคเกิดจากซุปค้างคาว (จีน) และเกิดจากแผนการแพร่โรคระบาดที่อาศัยความร่วมมือจากสถาบันวิจัยโรคติดต่อในสัตว์แห่งสหราอาณาจักรคือ Pirbright Institute[8][9]ต่อมาในวันที่ 31 หนังสือพิมพ์อังกฤษเดอะการ์เดียนระบุตัวอย่างข้อมูลผิด ๆ 7 อย่าง, เพิ่มทฤษฎีสมคบคิดว่า โรคเป็นอาวุธชีวภาพ และโรคสัมพันธ์กับเทคโนโลยี 5 จี และเพิ่มคำแนะนำทางสุขภาพที่ผิดอื่น ๆ[10]

เพื่อเร่งแชร์ข้อมูลงานวิจัย นักวิจัยจำนวนมากได้เริ่มใช้เว็บไซต์ที่พิมพ์ผลงานวิจัยก่อนตีพิมพ์รวมทั้ง arXiv, bioRxiv, medRxiv และ SSRN.งานวิจัยสามารถโหลดขึ้นไปยังเซิร์ฟเวอร์โดยไม่มีการตรวจสอบโดยผู้รู้เสมอกันหรือผ่านกระบวนการทางบรรณาธิการอื่น ๆ เพื่อรับรองคุณภาพงานวิจัยบางงานจึงได้มีส่วนกระจายทฤษฎีสมคบคิดต่าง ๆ กรณีเด่นที่สุดก็คือเอกสารที่โหลดขึ้น bioRxiv ซึ่งอ้างว่าไวรัสโควิด-19 มีลำดับยีนจากไวรัสเอชไอวีหลังจากมีการคัดค้าน งานจึงถูกเพิกถอน[11][12][13]เอกสารก่อนตีพิมพ์เกี่ยวกับโควิด-19 ได้แชร์กันอย่างกว้างขวางออนไลน์ โดยมีข้อมูลที่แสดงว่า สื่อใช้เอกสารในเรื่องนี้เกือบเป็น 10 เท่าเทียบกับเรื่องอื่น ๆ[14]

ตามงานศึกษาของสถาบันศึกษาวารสารศาสตร์ของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ข้อมูลผิด ๆ เรื่องโควิด-19 โดยมากเป็น "การแปรรูปในลักษณะต่าง ๆ ซึ่งข้อมูลที่มีอยู่และบ่อยครั้งจริงจะถูกปั่น บิดเบือน เปลี่ยนบริบท หรือเปลี่ยนใหม่"โดยมีข้อมูลน้อยกว่าที่กุขึ้นแบบโคมลอยงานศึกษาอย่างพบว่า ข้อมูลผิด ๆ จากผู้นำในสังคมรวมทั้งนักการเมือง คนดัง และคนสำคัญอื่น ๆ แม้จะเป็นส่วนน้อย แต่ก็ได้การเผยแพร่เป็นส่วนมากไปตามสื่อสังคมตามการจัดหมวดหมู่ของสถาบัน หมวดที่มีข้อมูลผิด ๆ มากสุด (ร้อยละ 39) เป็นข้ออ้างผิด ๆ หรือให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับการกระทำหรือนโยบายเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งรัฐบาลและองค์กรสากลเช่น องค์การอนามัยโลกและสหประชาชาติ[15]

การทดลองตามธรรมชาติ คือรูปแบบการทดลองที่เกิดขึ้นเองโดยไม่มีใครออกแบบหรือเข้าไปจัดการ ได้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลผิด ๆ เกี่ยวกับไวรัสโคโรนากับการติดโรคและการตายที่เพิ่มขึ้นมีตัวอย่างเป็นข่าวทางทีวีคล้ายกันสองข่าวที่รายงานในเครือข่ายโทรทัศน์เดียวกันข่าวหนึ่งรายงานผลของโรคที่หนักกว่าโดยทำก่อนข่าวต่อมาเดือนหนึ่งบุคคลและกลุ่มที่ดูข่าวหลังแล้วรายงานผลปรากฏว่าติดโรคและตายในอัตราสูงกว่า[16]

ข้อมูลผิด ๆ ถูกใช้โดยนักการเมือง กลุ่มสนับสนุน และเจ้าหน้าที่ของรัฐในประเทศต่าง ๆ ในทางการเมือง คือเพื่อบอกปัดหน้าที่รับผิดชอบ โทษประเทศอื่น ๆ และเพื่อไม่ให้การตัดสินใจก่อนหน้านี้ของตนถูกวิพากษ์วิจารณ์แต่บางครั้งก็มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องด้วย[17][18][19]ประเทศจำนวนหนึ่งถูกกล่าววหาว่า กระจายข้อมูลผิด ๆ ในสื่อสังคมของประเทศอื่น ๆ เพื่อสร้างความตื่นตระหนก ความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจ บ่อนทำลายการอภิปรายทางประชาธิปไตย หรือเพื่อโปรโหมตรูปแบบรัฐบาลของตน ๆ[20][21][22][23]

งานศึกษาของมหาวิทยาลัยคอร์เนลซึ่งตรวจบทความภาษาอังกฤษ 38 ล้านบททั่วโลกพบว่า ประธานาธิบดีสหรัฐดอนัลด์ ทรัมป์ เป็นผู้เผยแพร่ข้อมูลเท็จที่แรงสุด[2]

ใกล้เคียง

ข้อมูลผิดเกี่ยวกับโควิด-19 ข้อมูล ข้อมูลมหัต ข้อมูลที่ระบุตัวบุคคลได้ ข้อมูลอภิพันธุ์ ข้อมูล (คอมพิวเตอร์) ข้อมูลด้านสุขภาพในวิกิพีเดีย ข้อมูลผู้เข้าร่วมรายบุคคล ข้อมูลส่วนแบ่งการตลาดอุตสาหกรรมเพลงทั่วโลก ข้อมูลแบบเปิด

แหล่งที่มา

WikiPedia: ข้อมูลผิดเกี่ยวกับโควิด-19 http://news.sina.com.cn/o/2020-02-17/doc-iimxxstf2... http://news.cctv.com/2020/01/25/ARTIce5OB5W3sORPe9... http://dongascience.donga.com/news.php?idx=35457 http://start.loandepot.com/assets/int-email/disast... http://www.szhgh.com/Article/opinion/zatan/2020-01... http://www.taipeitimes.com/News/taiwan/archives/20... http://www.xilu.com/20200126/1000010001119697.html http://www.xinhuanet.com/politics/2020-03/16/c_112... http://www.rfi.fr/en/africa/20200414-press-freedom... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16335659